ข้อบังคับ
สมาคมนิสิตเก่านิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข้อ 2. สมาคมนี้ตั้ง ณ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข้อ 3. วัตถุประสงค์ของสมาคม คือ
(1) ส่งเสริมสามัคคีธรรมและผดุงเกียรติของสมาชิก
(2) ส่งเสริมเผยแพร่วิทยาการ จัดหาให้ทุนการศึกษาและการวิจัย
(3) ส่งเสริมสวัสดิการของสมาชิก
(4) บำเพ็ญสาธารณประโยชน์
(5) ส่งเสริมความเจริญให้แก่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและวงการ
กฎหมายทั่วไป
(6) สมาคมนี้ไม่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวข้องกับการเมือง
ข้อ 4. สมาชิกของสมาคมนี้มี 3 ประเภท คือ
(1) สมาชิกสามัญ ได้แก่ ผู้สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญานิติศาสตร์ขั้นบัณฑิต มหา-
บัณฑิต ดุษฎีบัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือเคยเป็นนิสิตนิติศาสตร์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(2) สมาชิกสมทบ ได้แก่ นิสิตคณะนิติศาสตร์ปัจจุบันหรือผู้สำเร็จการศึกษาวิชา
นิติศาสตร์จากสถาบันการศึกษาภายในหรือภายนอกประเทศ
(3) สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ซึ่งคณะกรรมการเชิญเข้าเป็นสมาชิกเพื่อเป็นเกียรติแก่
สมาคมด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของคณะกรรมการที่เข้าประชุม
ข้อ 5. ผู้สมัครเป็นสมาชิกสามัญหรือสมาชิกหรือสมาชิกสมทบต้องทำตามข้อสมัครตามแบบที่ได้
กำหนดไว้ยื่นต่อเลขาธิการ
ข้อ 6. ให้เลขาธิการนำใบสมัครนั้นเสนอต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาในโอกาสแรกที่จะทำได้
เมื่อคณะกรรมการลงมติเป็นประการใดแล้ว ให้เลาธิการแจ้งให้ผู้สมัครทราบ
ข้อ 7. สมาชิกสามัญ และสมาชิกสมทบ ต้องเสียค่าจดทะเบียนในการสมัครเป็นสมาชิกคนละ 20
บาท โดยชำระพร้อมกับการยื่นคำขอสมัครเป็นสามชิก
-สมาชิกสามัญเสียค่าบำรุงปีละ 100 บาท ตลอดชีวิต 1,000 บาท
-สมาชิกสมทบเสียค่าบำรุงปีละ 50 บาท
ให้คณะกรรมการ มีอำนาจกำหนดวิธีชำระบำรุงและเปลี่ยนแปลงอัตราค่าสมัครและค่า
บำรุงสูงกว่าเดิมตามที่เห็นสมควรไว้ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงสมาชิกที่ ได้สมัครและชำระค่าบำรุงไว้แล้ว
ข้อ 8. สมาชิกมีสิทธิได้รับผลประโยชน์ใดๆ ที่สมาคมจักอำนวยให้ได้
ข้อ 9.สมาชิกอาจแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจการของสมาคม
ข้อ 10. สมาชิกมีสิทธิที่จะเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญ และประชุมใหญ่วิสามัญ ทั้งมีสิทธิขอรับ
ทราบหรือตรวจดูกิจการ การบัญชี การเงิน การทะเบียน ของสมาคม
ข้อ 11. สมาชิกมีหน้าที่ดังต่อไปนี้คือ
(1)ปฏิบัติตามข้อบังคับและระเบียบของสมาคม
(2)ต้องรักษาคุณธรรมความดีงาม และไม่ประพฤติเสี่ยมเสีย
(3)ช่วยส่งเสริมและร่วมมือในกิจการของสมาคมให้เจริญก้าวหน้า
ข้อ 12. สมาชิกขาดจากสมาชิกภาพเมื่อ
(1)ตาย
(2)ลาออก
(3)เป็นบุคคลล้มละลาย
(4)ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก เว้นแต่เป็นความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความ
ผิดผหุโทษ
(5)ถูกลบชื่อจากทะเบียน
(6) ไม่ชำระค่าบำรุงรักษาติดต่อกัน 2 ปี และคณะกรรมการมีมติให้ลบชื่อออกจากทะเบียน
ข้อ 13. สมาชิกผู้ใดประสงค์จะลาออกจากสมาชิกภาพก็ย่อมทำได้โดยแจ้งความประสงค์เป็น
หนังสือไปยังเลขาธิการ
ข้อ 14. สมาชิกที่ได้ลาออกหรือถูกลบชื่อหรือจาดจากสมาชิกภาพ ตาม ข้อ 12(2),(4),(5),(6)นั้น
มีสิทธิยื่นคำขอเป็นสมาชิกได้อีกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ขาดจากสมาชิกภาพ
และหากคณะกรรมการได้พิจารณาคำขอและไม่ยอมรับผู้นั้นเข้าเป็นสมาชิกแล้ว ผู้นั้นอาจยื่นคำขอได้อีกเพียงครั้งเดียวเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่คณะกรรมการวินิจฉัยไม่ยอมรับเป็นสมาชิก
ข้อ 15. คะแนนเสียงของคณะกรรมการในการลงชื่อของสมาชิก ตามข้อ 12 (5) ต้องมีจำนวน 3 ใน
4 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด ส่วนการลบชื่อสมาชิก ตามข้อ 12 (6) ให้มีจำนวนเสียงจำนวนกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่เข้าร่วมประชุม
การลงคะแนนเสียงในที่ประชุมคณะกรรมการ ให้ใช้วิธีชูมือ แต่ถ้ากรรมการ 2 คนร้องขอ ก็
ให้ประธานสั่งการไห้ลงคะแนนรับได้
ข้อ 21. นายกหรือกรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ถึงคราวออกตามวาระ
(3) ลาออก
(4) ขาดจากการเป็นสมาชิกภาพ
ข้อ 22. ถ้านายกพ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดตามวาระ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการคน
หนึ่งรักษาการแทนจนกว่าที่ประชุมใหญ่ จะทำการเลือกตั้งนายกขึ้นใหม่และให้อยู่ในตำแหน่ง ได้เท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน
ถ้ากรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดตามวาระ ให้กรรมการแต่งตั้งบุคคลที่ได้รับ
คะแนนถัดไปเป็นกรรมการแทน โดยให้อยู่ในตำแหน่งได้เท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน
ข้อ 23. การประชุมใหญ่สามัญให้มีขึ้นปีละครั้ง
การประชุมใหญ่นอกเหนือจากนั้นให้เรียกว่าประชุมใหญ่วิสามัญ
ข้อ 24. องค์ประชุมสำหรับการประชุมใหญ่ จะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่ง
ในสามของสมาชิกทั้งหมดจึงจะถือเป็นองค์ประชุม
ข้อ 25. ให้นายกทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมใหญ่
หากนายกไม่อยู่หรือไม่อาจทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ได้ ให้อุปนายกหรือ
กรรมการผู้อื่นทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมใหญ่แทน หรือให้ที่ประชุมเลือกสมาชิกสามัญผู้หนึ่งผู้ใด ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมแทน
ข้อ 26. สมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมใหญ่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนคนละ1 เสียง
สมาชิกสามัญจะมอบฉันทะให้สมาชิกคนอื่นเป็นผู้เข้าร่วมประชุม และออกเสียงแทนตนก็
ได้โดยการทำหนังสือมอบฉันทะลงชื่อผู้รับมอบและผู้มอบ และให้นำไปมอบไว้กับเลขาธิการก่อนเริ่มการประชุม
สมาชิกสมทบและสมาชิกกิตติศักด์ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่
ข้อ 27. กิจการที่ที่ประชุมใหญ่ใหญ่ครั้งที่แล้ว
(1) รับรองรายงานประชุมใหญ่ครั้งที่แล้ว
(2) คณะกรรมการแถลงผลงาน
(3) พิจารณารับรองงบดุล
(4) เลือกตั้งคณะกรรมการ(ถ้ามี)
(5) เลือกตั้งผู้สอบบัญชี
(6) กิจการอื่นๆ
ข้อ 28. มติของประชุมใหญ่ให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ หากคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานใน
ที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ 29. การออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ให้ใช้วิธีชูมือ เว้นแต่สมาชิกสามัญไม่น้อยกว่า 10
คนร้องขอก็ให้ประธานสั่งให้ลงคะแนนลับ
ข้อ 30. การประชุมใหญ่วิสามัญจะกระทำได้ต่อเมื่อคณะกรรมการเห็นสมควร หรือสมาชิกซึ่งมิได้
ค้างชำระค่าบำรุง จำนวนไม่น้อยกว่า 50 คนลงชื่อร้องขอเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการก็ให้
คณะกรรมการจัดการประชุมใหญ่ตาทที่ร้องขอภายในกำหนด 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอนั้น
การประชุมใหญ่วิสามัญให้ถือองค์ประชุมเช่นเดียวกับการประชุมใหญ่สามัญ
ข้อ 31. หนังสือเรียกประชุมใหญ่ทุกคราวให้ส่งทางไปรษณีย์ไปยังสมาชิกก่อนวันนัดประชุมใหญ่
ไม่น้อยกว่า 7 วัน ในหนังสือนั้นให้ระบุสถานที่ เวลาและระเบียบวาระด้วย
ข้อ 32. การเงินของสมาคมให้ดำเนินการไปตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร และให้อยู่ในความรับ
ผิดชอบของคณะกรรมการ
ข้อ 33. ให้คณะกรรมการจัดให้มีการทำบัญชี และการเงินของสมาคมพร้อมด้วย ใบสำคัญและ
หลักฐานให้ถูกต้องตามหลักวิชาการบัญชีและให้ตรงต่อข้อความจริง
ข้อ 34. เงินของสมาคมให้ฝากไว้ในสถาบันการเงินในนามของสมาคม
- ให้เหรัญญิกมีอำนาจเก็บเงินสดไว้ในมือเพื่อใช้จ่ายไม่เกินคราวละ 10,000 บาท
- นายกและเหรัญญิกของสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินไม่เกินคราวละ 50,000 บาท หากเกิน
กว่า 50,000 บาท จะต้องใด้รับอนุมัติจากคณะกรรมการก่อนจึงจะสั่งจ่ายได้
ข้อ 35. ให้คณะกรรมการจัดการให้ทำงบดุลส่งให้สมาชิกทราบทุกรอบปีการบัญชี โดยผ่านการ
ตรวจสอบของผู้สอบบัญชี
รอบปีบัญชีให้เริ่มในวันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม
ข้อ 36. การแก้ไขเปลี่ยนข้อบังคับจะกระทำได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่ ด้วยคะแนนเสียงไม่
น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกสามัญผู้เข้าร่วมประชุม
ให้คณะกรรมการส่งร่างข้อบังคับที่ขอแก้ไขไปพร้อมกับหนังสือเรียกประชุมด้วย
ข้อ 37. สมาคมนี้จะเลิกได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของ
จำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมด
ข้อ 38. เมื่อเลิกสมาคมแล้ว ให้ทรัพย์สินของสมาคมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เพื่อใช้เป็นกิจการของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ให้ผู้ชำระบัญชีจัดการชำระบัญชีให้เสร็จโดยเร็วที่สุด และโอนมอบทรัพย์สินดังกล่าวใน
วรรคก่อนเป็นการด่วนไม่ช้ากว่า 6 เดือน
นิสิตเก่าทั้งหมด: | 11684 |
เปลี่ยนชื่อ-สกุล: | 469 |
สมาขิก: | 953 |
อีเมล์: | 4453 |
โทรมือถือ: | 4200 |
ภาพถ่าย: | 268 |